วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

คำอธิบาย: ตรากัลยาณวัตร.jpg

การศึกษาโครงงาน
เรื่อง   วรรณคดีขุนช้างขุนแผน  ตอน  กำเนิดขุนช้างขุนแผน

ชื่อผู้จัดทำ 
  เด็กหญิง  สราวลี     สาคร
     เด็กหญิง  อารียา     จันทาคำ

ครูที่ปรึกษา  คุณครู ปัณฑิตา  ชาติประมง
สถานศึกษา  โรงเรียนกัลยาณวัตร  จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25
ปีจัดทำ  2558
ชื่อเรื่อง            : การศึกษาลักษณะของดอกไม้ในวรรณคดีไทย
ชื่อผู้จัดทำ        : เด็กหญิง สราวลี สาคร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                          เด็กหญิง อารียา  จันทาคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ครูที่ปรึกษา     : นาง ปัณฑิตา ชาติประมง
สถานศึกษา     : โรงเรียนกัลยาณวัตร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เขต 25
ปีการศึกษา      : 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน 2. เพื่อศึกษาตัวละครที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน  3. เพื่อศึกษาข้อคิดที่ได้จากเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
โดยการศึกษาวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน ศึกษาลักษณะและนิสัยของตัวละครวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน
ผลปรากฏว่า 1.เข้าใจในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน  2.ทราบถึงลักษณะนิสัยตัวละครที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน 3.ได้ข้อคิดจากเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน



กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาโครงงานเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดขุนข้างขุนแผน ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากหลายๆฝ่าย โดยเฉพาะคุณครูที่ปรึกษาคือคุณครูปัณฑิตา   ชาติประมง ที่ให้การแนะนำ  ตรวจแก้ไข  ให้ข้อเสนอแนะ  ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการทำโครงงาน  ผู้จัดทำรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของคุณครูที่ปรึกษาเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้  ณ  โอกาสนี้
ขอขอบคุณ คุณครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนกัลยาณวัตร ทุกท่านที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้ค้นหาหนังสือและสืบค้นข้อมูลด้วยอินเตอร์เน็ต
            ขอขอบพระคุณ นางกรรณิกา ศรีสัตย์รสนา ผู้อำนวยการโรงเรียนกัลยาณวัตร  ท่านรองผู้อำนวยการด้านวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ให้ความสนับสนุนในการจัดทำโครงงานและสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ บิดามารดา  ที่กรุณาให้ข้อมูลรวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และให้กำลังใจในการจัดทำโครงงานจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี
            คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ สำหรับเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานต่อไป








บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี  มีสาระ และมีคุณค่าทาง
วรรณศิลป์  สามารถทำให้ผู้ อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน  ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การอ่าน ให้ประชาชนได้รับรู้เพราะสามารถลดระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
                        เนื่องจากในปัจจุบันเยาวชนไทยสมัยใหม่ไม่ค่อยสนใจเรื่องวรรณคดีไทยเท่าที่ควร และอาจจะมีคำศัพท์บางคำที่ยากเกินไปจนทำให้เข้าใจยาก และเกิดจากการไม่สนใจดูแลรักษาไว้ คณะผู้จัดทำจึงศึกษาวรรณคดีขุนข้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน เพราะตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผนเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องขุนช้างขุนแผนมีความสนุกสนานและน่าติดตามคณะผู้จัดทำจึงศึกษาวรรณคดีขุนข้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผนและนำไปเผยแพร่ให้เยาวชนได้ศึกษา เพื่อให้เยาวชนเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายและสนุกสนานกับการอ่านวรรณคดีขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
2. เพื่อศึกษาตัวละครที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
3. เพื่อศึกษาข้อคิดที่ได้จากเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เข้าใจในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
2. ทราบถึงลักษณะนิสัยตัวละครที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
3. ได้ข้อคิดจากเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
ขอบเขตด้านการศึกษา
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. เนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
2. ตัวละครที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
ขอบเขตด้านเวลา
วันที่ 18 มกราคม 2559   ถึง วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559
ขอบเขตด้านสถานที่
ห้องสมุดโรงเรียนกัลยาณวัตร







บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องการศึกษาวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผนผู้ศึกษาได้
ศึกษาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ความหมายของวรรณคดีไทย
2. ประวัติผู้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน
3. ลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีขุนช้างขุนแผน
ความหมายของวรรณคดีไทย
วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
                    วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
ประวัติผู้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน
ผู้แต่งเรื่องขุนช้างขุนแผน   คือ  พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไป
ว่า สุนทรภู่ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398
            สุนทรภู่ได้เล่าเรียนหนังสือในสำนักวัดชีปะขาว ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า วัดศรีสุดาราม ในคลองบางกอกน้อย ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดี ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม
ใน พ.ศ. 2359 ในรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ระหว่างรับราชการต้องถูกจำคุกเพราะเมาสุราจนคลองสติไม่ได้ ภายหลังพ้นโทษได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรส รัชกาลที่ 2
        ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ออกจากราชการและออกบวช เมื่อลาสิกขาแล้วถวายตัวอยู่กับ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้ปีหนึ่ง ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งได้รับความลำบากมาก ต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต ต่อมาจึงได้รับพระอุปถัมภ์จากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
        พ.ศ. 2394 สุนทรภู่ได้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์ เป็น พระสุนทรโวหาร  วรรณกรรมของสุนทรภู่ มีมากมายหลายประเภท คือมีทั้งนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิทานคำกลอน เช่น พระอภัยมณี โคบุตร ลักษณะวงศ์ สุภาษิตคำกลอน เช่น สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท เสภา เช่น ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม บทเห่กล่อม เช่น เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เป็นต้น
ลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีขุนช้างขุนแผน
ลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีขุนช้างขุนแผนเป็นลักษณะแบบ กลอนเสภา
เสภา หมายถึง วรรณคดีที่แต่งด้วยรูปแบบคำประพันธ์ชนิดกลอนสุภาพที่นิยมมีคำว่า ''ครานั้น'' ปรากฏในตอนขึ้นต้นบท โดยใช้ประกอบกับคำอื่นจนครบวรรคอย่างน้อย 3 ครั้ง และจะใช้คำขึ้นต้นบทอื่นๆ ก็ได้ มักมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่า นอกจากนี้ เสภา ยังหมายถึงทำนองการขับลำประกอบ ''กรับ'' โดยใช้บทเสภา เพื่อใช้เล่าเรื่องสู่กันฟังเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หมายถึงการขับเสภาเป็นทำนองประกอบกับการเล่นปี่พาทย์ หรือการแสดงก็ได้



บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษา
การศึกษาโครงงานเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดขุนข้างขุนแผน มีวิธีการดำเนินการดังต่อไปนี้
            ขั้นเตรียมการ
      1.  เลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา
      2. จัดทำเค้าโครงโครงงาน
      3. จัดทำตารางเวลาในการทำงาน
      4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษาโครงงาน
ขั้นตอนดำเนินงาน
ดำเนินงานตามตารางดังต่อไปนี้

ลำดับที่
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
วัน/เดือน/ปี
1
คิดหัวข้อที่จะศึกษาในการทำโครงงาน / รวบรวมข้อมูลที่ต้องการทราบ
18 – 22 มกราคม 59
2
-อ่านและทำความเข้าใจวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
23 – 26 มกราคม 59
3
ปรึกษาครูเพื่อรับคำแนะนำ
27 มกราคม 59
4
ปรับปรุงและแก้ไขงานตามคำแนะนำ
27 – 28 มกราคม 59
5
-สรุปและอภิปรายผลการทำโครงงาน
-จัดทำรายงาน
29 – 31 มกราคม 59
6
เผยแพร่ผลงงาน
1 กุมภาพันธ์ 59

บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการศึกษาวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน  เพื่อจัดทำโครงงาน
และหลังจากศึกษาแล้วผู้จัดทำได้รับความรู้ที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์คือ
1. ทราบเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน  ตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
2.ทราบตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
3. ได้ข้อคิด จากเรื่อง ขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
ผลการศึกษา
จากการศึกษาวรรณคดีเองขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดขุนช้างขุนแผน  หลังจากกาศึกษาแล้วได้ผลดังนี้
1.ทราบเนื้อเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน  ตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่สงบสุข มีเมืองขึ้นมากมายและมีเรื่องราวของขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไลย เกิดขึ้นที่เมืองสุพรรณบุรี สมัยที่สมเด็จพระพันวษาครองกรุงศรีอยุธยา  
มีชายคนหนึ่งชื่อ ขุนไกร อยู่ที่บ้านพลับได้แต่งงานอยู่กินกับนางทองประศรี ชาวบ้านแถววัดตะไกร ต่อมาขุนไกรย้ายไปรับราชการทหารที่เมืองสุพรรณบุรี ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นนายกรมช้างกองนอก ชื่อ ขุนศรีวิไชย ได้เมียชื่อนางเทพทอง อยู่ที่บ้านท่าสิบเบี้ย เมืองสุพรรณบุรี และพันศรโยธา มีเมียชื่อ นางศรีประจัน เป็นชาวบ้านท่าสิบเบี้ยเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นนางศรีประจัน ยังมีน้องสาวอีกคนหนึ่ง ชื่อ นางบัวประจัน มีผัวเป็นชาว บางเหี้ย ชื่อนายโชดคง ไม่มีอาชีพนอกจากเป็นโจร เที่ยวขโมยควายของชาวบ้าน วันหนึ่ง นางเทพทอง เกิดฝันประหลาด ขุนศรีวิไชยทำนายฝันว่าจะได้ลูกชาย ฝ่ายนางทองประศรี ฝันว่าพระอินทร์เหาะลงมายื่นแหวนเพชรเม็ดใหญ่ให้ ขุนไกรทำนายฝันว่าจะได้ลูกชาย ซึ่งภายภาคหน้าจะได้เป็นทหารใหญ่
"...นิมิตฝันว่าท้าวสหัสนัยน์
ถือแหวนเพชรเม็ดใหญ่เหาะดั้นมา
ครั้นถึงจึงยื่นแหวนนั้นให้
นางรับแหวนไว้ด้วยหรรษา
แสงเพชรส่องวาบปลาบเข้าตา
ตื่นผวาคว้าทั่วปลุกผัวพลัน"
ส่วนนางศรีประจัน ก็ฝันเช่นเดียวกันโดยฝันว่า พระวิษณุกรรม เหาะเอาแหวนมาให้ และพันศรโยธาทำนายฝันว่า จะได้ลูกสาวที่มีความสวยงามมาก
" ท่านขาคืนนี้ข้าเจ้าฝัน
ว่าพระวิษณุกรรมนายช่างใหญ่
ถือแหวนประดับงามจับใจ
เอามาส่งให้ไว้กับเรา..."
ต่อมาทั้งสามก็ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน นางเทพทองคลอดบุตรเป็นชายหัวล้านได้ชื่อว่า ขุนช้าง นางทองประศรีคลอดบุตรเป็นชายรูปร่างหน้าน่ารัก ได้ชื่อว่า พลายแก้ว และนางศรีประจันคลอดบุตรเป็นหญิง ได้ชื่อว่า พิมพิลาไลย   เด็กทั้งสามนี้เป็นเพื่อนเล่นกันมา ครั้งหนึ่งขณะเล่นกันอยู่ พลายแก้วเกิดอุตริชวนขุนช้างและนางพิม เล่นผัวเมีย ขุนช้างเห็นด้วย นางพิมไม่อยากเล่น พลายแก้วคะยั้นคะยอให้เล่น โดยบอกว่า ให้เล่นเป็นเมียขุนช้างไปพลาง ๆ แล้วตนจะไปลักมาจากขุนช้าง นางพิมจึงยอมเล่น ซึ่งนับว่าเป็นลางที่จะต้องเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ทำให้เทวดาดลใจ ให้คิดเล่นผัวเมียขึ้นมา
เมื่อขุนช้างโตขึ้น ขุนศรีวิไชยได้พาไปถวายตัวกับ สมเด็จพระพันวษา เป็นกษัตริย์ที่มีพระบรมเดชานุภาพมาก เมืองต่าง ๆ พากันเข้ามาสวามิภักดิ์ และส่งราชบรรณการมาให้มิได้ขาด และทรงเป็นกษัตริย์ที่มีจริยธรรม ปกครองกรุงศรีอยุธยาและบรรดาเมืองขึ้น ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา ซึ่งพระองค์ก็รับขุนช้างไว้ แต่เนื่องด้วยยังเด็กมาก ก็ให้ขุนศรีวิไชยดูแลไปก่อน

2.ทราบตัวละครที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน
1) ขุนแผน เดิมชื่อพลายแก้ว มีรูปร่างหน้าตางดงามคมสัน สติปัญญาเฉลียวฉลาด
นิสัยเจ้าชู้ มีดาบฟ้าฟื้นเป็นอาวุธประจำตัว พาหนะคู่ใจคือ ม้าสีหมอก พ่อเป็นทหารชื่อ ขุนไกรพลพ่าย แม่ชื่อ นางทองประศรี ได้บวชเณรและเรียนวิชาที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย สุดท้ายไปเป็นศิษย์สมภารคง วัดแค จนมีความรู้ทางโหราศาสตร์ ปลุกผี อยู่ยงคงกระพัน คาถามหาละลวยทำให้ผู้หญิงรัก ตลอดจนวิชาจากตำรับพิชัยสงคราม และยังมีความสามารถเทศ์ได้ไพเราะจับใจอีกด้วย ต่อมาสึกจากเณรแล้วแต่งงานกับนางพิมพิลาไลย ไม่นานก็ถูกเรียกตัวไปเป็นแม่ทัพรบกับเชียงใหม่ ครั้นได้ชนะกลับมาก็ได้เป็นขุนแผนแสนสะท้าน แต่ปรากฏว่าภรรยาแต่งงานใหม่แล้ว ขุนแผนต้องโทษถูกจำคุกถึง ๑๕ ปี จึงพ้นโทษ และทำสงครามกับเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อชนะกลับมาก็ได้ตำแหน่งเป็นพระสุริทรฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี
ขุนแผนเจ้าชู้มากจึงมีภรรยาหลายคน คือ
1. นางวันทอง มีลูกด้วยกันคือ พลายงาม
2. นางลาวทอง
3. นางแก้วกิริยา มีลูกด้วยกันคือ พลายชุมพล
4. นางสายทอง
5. นางบัวคลี่ มีลูกด้วยกันคือ กุมารทอง
2) ขุนช้าง
จะกล่าวถึงขุนช้างเมื่อรุ่นหนุ่ม หัวเหมือนนกตะกรุมล้านหนักหนา
เคราคางขนอกรกกายา หน้าตาดังลิงค่างที่กลางไพร
ขุนช้าง มีลักษณะรูปชั่วตัวดำ หัวล้านมาแต่กำเนิด นิสัยเจ้าเล่ย์เพทุบาย ได้ชื่อว่าขุนช้างเพราะตอนคลอดนั้น มีผู้นำช้างเผือกมามอบให้สมเด็จพระพันวษา พ่อชื่อ ขุนศรีวิชัย แม่ชื่อ นางเทพทอง มีฐานะร่ำรวยมาก แม้จะเกิดมาเป็นลูกเศรษฐี แต่ก็อาภัพ ถูกแม่เกลียดชังเพราะอับอายที่มีลูกหัวล้าน จึงมักถูกแม่ด่าว่าอยู่เสมอ และไม่ว่าจะเดินไปทางใดก็จะเป็นที่ขบขันล้อเลียนของชาวบ้านทั่วไปเสมอ แต่เป็นที่รักของญาติพี่น้อง เพราะตั้งแต่ขุนช้างเกิดมาครอบครัวก็ร่ำรวยขึ้น พอเป็นหนุ่มก็ได้นางแก่นแก้ว เป็นภรรยา อยู่ด้วยกันได้ปีกว่านางก็ตาย จึงหันมาหมายปองนางพิมพิลาไลย แต่งงานกับนางสมใจปรารถนา
3) นางพิมพิลาไลย หรือ วันทอง
ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแม้น อรชนอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำดำเป็นเงา ให้ชื่อว่าเจ้าพิมพิลาไลย
นางพิมพิลาไลย เป็นหญิงรูปงาม แต่ปากจัด พ่อชื่อ พันศรโยธา แม่ชื่อ นางศรีประจัน ต่อมารได้แต่งงานกับพลายแก้ว ซึ่งภายหลังมีลูกชายด้วยกัน คือ พลายงาม ครั้นพลายแก้วไปทำสงคราม นางก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจู วัดป่าเลไลย ตรวจดูดวงชะตาและแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็น นางวันทอง อาการไข้จึงหายต่อมานางถูกแม่บังคับให้แต่งงานใหม่กับขุนช้าง นางต้องถูกประณามว่าเป็นหญิงสองใจ เมื่อมีคดีฟ้องร้องถึงสมเด็จพระพันวษา และพระองค์ให้นางเลือกว่าจะอยู่กับใคร แต่นางตัดสินใจไม่ถูกจึงถูกสั่งให้ประหารชีวิต
นางวันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า

"ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"
เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย นางวันทอง เดิมชื่อนางพิมพิลาไลย เป็นนางเอกในเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน (เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อแก้เคล็ดให้หายป่วย ตอนขุนแผนไปรบ) นางถูกยื้อไปแย่งมาระหว่างขุนแผน และขุนช้าง จนในที่สุดพระพันวษาต้องให้นางเลือกว่าจะอยู่กับใครระหว่างขุนแผนหรือขุนช้าง แต่นางวันทองก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะแม้ขุนแผนจะเจ้าชู้จนมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งหึงหวงกันอยู่เสมอ แต่ก็เป็นรักแรกและยังมีลูกด้วยกันคือพลายงามอีกด้วย
ลักษณะนิสัย
เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย
นางวันทอง มีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น
4) สมเด็จพระพันวษา
สมเด็จพระพันวษา เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยุคนี้เป็นยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง มีความอุดมสมบูรณ์ ราษฎรทั้งหลายอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขบรรดาประเทศใกล้เคียงก็ยอมอ่อนน้อม เพราะยำเกรงบารมี สมเด็จพระพันวษามีนิสัยโกรธง่าย ดังเช่นเมื่อขุนไกรต้อนควายป่ามาเข้าคอกให้พระองค์ล่า แต่ควายตื่นตกใจหนีเตลิด ขุนไกรจึงใช้หอกไล่แทงควายตายไปมากมาย สมเด็จพระพันวษาก็โกรธสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรทันที แต่พระองค์ก็นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความยุติธรรมต่อพวกทหาร เสนาอำมาตย์ และราษฎรพอสมควร เมื่อมีคดีฟ้องร้องกัน ก็จะให้มีการไต่สวน และพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ชัดเสียก่อนจึงจะลงโทษ เช่น ในคราวที่นางสร้อยฟ้าทำเสน่ห์ให้จมื่นไวยวรนาถ (พลายงาม) หลงรักแล้วถูกจับได้ แต่ไม่มีพยานยืนยัน สมเด็จพระพันวษาก็ให้ลุยไฟพิสูจน์ จนรู้แน่ว่านางสร้อยฟ้าเป็นฝ่ายผิดจึงได้สั่งลงโทษ
5) ขุนไกร
             ขุนไกรพลพ่าย แต่งงานกับนางทองประศรี แล้วมีลูกชายด้วยกัน ชื่อ พลายแก้ว ขุนไกรมีความรู้ทางคงกระพันชาตรี รับราชการทหารมีไพร่พลในบังคับบัญชา ๗๐๐ คน คราวหนึ่งสมเด็จพระพันวษาประสงค์จะล่าควายป่า สั่งให้ขุนไกรปลูกสร้างพลับพลา และต้อนควายป่าเข้าคอกเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้นพากันแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก และยังไล่ขวิดคนอีกด้วย ขุนไกรจึงคว้าหอกไล่แทงควายตายไปมากมาย ที่เหลือก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธ หาว่าขุนไกรแกล้งแทงควายเล่นสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย แล้วให้รีบทรัพย์สมบัติทั้งหมด รวมทั้งภรยา ลูกและข้าทาสบริวารด้วยขุนไกรเป็นห่วงภรรยาและลูกจึงขอร้องให้เพื่อนสนิทคือ หลวงฤทธานนท์ไปส่งข่าวด้วย นางทองประศรีจึงพาลูกหนีไปได้ก่อนที่พวกทหารจะไปจับกุมตัว
             6) นางทองประศรี
             นางทองประศรี เดิมเป็นชาวบ้านวัดตะไกร พอแต่งงานกับขุนไกรพลพ่ายก็ย้ายไปอยู่กินด้วยกันที่สุพรรณบุรี แล้วให้กำเนิดลูกชายคนหนึ่ง คือ พลายแก้ว นางเป็นหญิงที่มีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ทรหดอดทน แต่ปากร้าย ในคราวที่ขุนไกรผู้เป็นสามีประสบเคราะห์กรรมถึงถูกประหารชีวิต นางทองประศรีรู้ข่าวแล้วก็รีบพาลูกหนีระหกระเหินเข้าป่ามุ่งหน้าไปหาญาติของขุนไกรที่กาญจนบุรี แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินอย่างขยันขันแข็งค่อยเก็บหอมรอมริม จนมีฐานะดีขึ้น และเลี้ยงดูลูกชายคนเดียวอย่างเอาใจใส่คอยอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีอยู่เสมอ
             7) ขุนศรีวิชัย
             ขุนศรีวิชัย รับราชการเป็นนายกรมช้างกองนอก เป็นเศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี มีภรรยาชื่อ นางเทพทอง และมีลูกชายด้วยกันชื่อ ขุนช้าง ต่อมานายโจรจันศรยกพวกเข้าปล้นบ้าน ขุนศรีวิชัยกระโดดลงจากบ้านหนีมาช่วย แต่จำนวนคนน้อยกว่าพวกโจร ขุนศรีวิชัยจึงถูกจับตัวได้ พวกโจรรุมกันฟันแทง แต่อาวุธไม่ระคายผิว หอยผิว หอกดาบเหล่านั้นกลับหักหมด พวกโจรจึงช่วยกันจับแล้วใช้หลาวสวนทวารจนขุนศรีวิชัยขาดใจตาย
8) นางเทพทอง
             นางเทพทอง เป็นแม่ของขุนช้าง มีนิสัยปากจัด ด่าเก่งตอนตั้งท้องขุนช้างนั้น นางฝันว่ามีนกตะกรุมคาบช้างเน่ามาให้ ขุนศรีวิชัยผู้เป็นสามีทำนายฝันให้ว่าจะได้ลูกชาย มีวาสนาดี ทำให้พ่อแม่ร่ำรวยขึ้น แต่จะต้องขายหน้าเพราะหัวล้านตั้งแต่เกิด เมื่อคลอดลูกแล้วปรากฏว่าลูกชายของนางหัวล้านจริง ๆ หน้าตาก็ไม่น่ารัก นางนึกอับอายขายหน้าเพื่อนบ้าน จึงเกลียดชังขุนช้าง ไม่ใคร่จะอุ้มชูเลี้ยงดูลูกเหมือนแม่คนอื่น ๆ มิหนำซ้ำยังด่าแช่งเว้นแต่ละวัน
                9)พันศรโยธา
          พันศรโยธา มีภรรยาชื่อ นางศรีประจัน มีลูกสาวสวยชื่อ นางพิมพิลาไลย พันศรโยธามีฐานะดีเป็นเศรษฐีคนหนึ่งของเมืองสุพรรณบุรี มีอาชีพเป็นพ่อค้า เดินทางไปค้าขายต่างเมืองบอยู่เสมอ ต่อมาไปค้าขายที่ละว้า พอกลับมาถึงบ้านก็ป่วยหนัก อยากกินแต่พวกเนื้อหมู เนื้อวัวพล่า นางศรีประจันพยายามรักษาพยาบาล อาการก็ดีขึ้นเพียงชั่วคราวแล้วก็เป็นอีก ทุกคนลงความเห็นว่าถูกผีเข้า ในที่สุดก็สิ้นใจตาย
              10)นางศรีประจัน
           นางศรีประจัน เป็นแม่ของนางพิมพิลาไลยหรือนางวันทองนั่นเอง นางเป็นคนปากจัด ด่าเก่ง และเอาแต่ใจตนเอง ขุนช้างมาบอกข่าวว่าพลายแก้วตาย และขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกจับกุมตัวเข้าวังเป็นม่ายหลวง นอกจากรีบแต่งงานใหม่เสีย แล้วขุนช้างก็เอาเงินทองมีค่ามาล่อใจ นางศรีประจันจึงคิดให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง แม้ว่านางวันทองกับคนอื่นๆ จุพยายามคัดค้านแต่นางศรีประจันใสใจ บังคับให้นางวันทองแต่งงานใหม่กับขุนช้างจนได้ การกระทำของนางทำให้ลูกสาวต้องมีสามีถึงสองคน และมีเหตุวุ่นวายแย่งตัวนางวันทองกัน ผลสุดท้ายนางวันทองถูกประหารชีวิต

บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผล
สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษาโครงงานวิชาภาษาไทยเรื่องวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน ได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และจากผลสำรวจจะเห็นว่าผู้ประเมินมีความพึงพอใจในผลงานและการนำเสนอซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดีเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีความพึงพอใจในเนื้อหาสาระว่าสามารถเข้าใจวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนได้ง่ายกว่าเดิม มีความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และแง่คิดไปใช้ในโอกาสต่างๆและในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้รับความพึงพอใจในความเหมาะสม ที่จัดเป็นสื่อการเรียนการสอนได้
อภิปรายผล
วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ข้อคิดจากเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน

2.ได้รู้จักกลอนเสภา


บรรณานุกรม

เปรมสรี.  (2542).  ขุนช้างขุนแผน.  พิมพ์ครั้งที่ 14.  กรุงเทพมหานครฯ:  อมรการพิมพ์

ขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.  พิมพ์ครั้งที่ 8.  (2506).  กรุงเทพมหานครฯ:  คลังวิทยา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.  พิมพ์ครั้งที่  18.  (2544).  กรุงเทพมหานครฯ:  โสภณการพิมพ์

4 ความคิดเห็น:

  1. ของชื่อ ผู้แต่ง หน่อยคะ

    ตอบลบ
  2. ผุ้แต่งของอะไรคะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 11:32

    Merkur - Felt Casino - deccasino.com
    Merkur Merkur, the brand 바카라 new, deccasino unique and traditional razor, is a Merkur replacement double edge safety razor. With the Merkur 바카라 사이트 Futur double edge razor,

    ตอบลบ
  4. Hotels near Casino Royale Casino, Gatineau | Mapyro
    Hotels 1 - 12 하남 출장안마 of 65 — casinos near Casino Royale Casino. Gatineau, Gatineau. 동두천 출장마사지 Driving Directions. 통영 출장안마 Hotels 1 남양주 출장안마 - 논산 출장마사지 12 of 65. Driving Directions

    ตอบลบ